จับตาฟันด์โฟลว์ไหลเข้า-ประชุมบีโอเจ หนุนเงินบาทแข็งค่า

จับตาฟันด์โฟลว์ไหลเข้า 13

แบงก์ประเมินกรอบเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 32.75-33.50 บาทต่อดอลลาร์ จับตาประชุมบีโอเจ-ยอดค้าปลีกสหรัฐ-ฟันด์โฟลว์ไหลเข้าบอนด์ระยะสั้น หนุนเงินบาทแข็งค่า

ข่าวการเงิน วันที่ 15 มกราคม 2566 นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า (วันที่ 16-20 มกราคม 2566) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.75-33.30 บาทต่อดอลลาร์โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่า ยังคงมาจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ตามความหวังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังเงินเฟ้อชะลอลงตามคาด ซึ่งได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านแถว 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (โฟลว์ขายทำกำไรทองคำก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น)“ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังมีแนวโน้มเดินหน้าเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยต่อได้ โดยเฉพาะในฝั่งหุ้น ส่วนในฝั่งบอนด์ระยะสั้น อาจมีทั้งโฟลว์ซื้อของผู้เล่นต่างชาติที่มีมุมมองว่า เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจเห็นแรงซื้อบอนด์ระยะสั้นชัดเจนได้ และโฟลว์ Arbitrage บอนด์ระยะสั้น จากต้นทุนของนักลงทุนต่างชาติที่อยู่ในระดับต่ำเข้ามาเช่นกัน และในระหว่างสัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติก็มีจังหวะทยอยขายทำกำไร Short USDTHB มองเงินบาทแข็งค่าบ้าง ทำให้เงินบาทก็มีจังหวะอ่อนค่าลง แต่ไม่ได้อ่อนค่าไปมากนัก”สำหรับไฮไลต์ข้อมูลเศรษฐกิจ จะต้องติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐ ทั้งรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม รวมถึงข้อมูลตลาดแรงงาน อย่างยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและต่อเนื่อง และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดว่าจะมีการส่งสัญญาณชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดหวังหรือไม่ขณะเดียวกันตลาดจะรอจับตาภาพเศรษฐกิจยุโรป ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) ในเดือนมกราคม รวมถึงรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนธันวาคมของอังกฤษและยูโรโซนและในฝั่งเอเชีย ไฮไลต์สำคัญของตลาดเอเชีย คือ รายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน ซึ่งจะเป็นข้อมูลในเดือนธันวาคม อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales), ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินผ่านความผันผวนของค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) รวมถึง บอนด์ยีลด์ระยะยาวของญี่ปุ่น

จับตาฟันด์โฟลว์ไหลเข้า 13

ส่วนกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าตลาดหุ้นซื้อหุ้นสุทธิ 1.05 หมื่นล้านบาท และตลาดพันธบัตร (บอนด์) ซื้อสุทธิ 1.9 หมื่นล้านบาท

ข่าวการเงิน ทั้งนี้ ประเมินฟันด์โฟลว์สัปดาห์แม้ตลาดการเงินโดยรวมมีแนวโน้มที่จะอยู่ในโหมดเปิดรับความเสี่ยง แต่จะเริ่มเห็นแรงซื้อนักลงทุนต่างชาติที่ลดลง และอาจเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นไทยบ้าง โดยมองซื้อหุ้นสุทธิ 2-3 พันล้านบาท และซื้อบอนด์สุทธิ 2-3 พันล้านบาท“ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนเข้ามาซื้อบอนด์ระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรามองว่าส่วนหนึ่งคือโฟลว์ธุรกรรม arbitrage เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมเงินสกุลเงินบาทในตลาด offshore อยู่ในระดับต่ำมาก และอีกส่วนคือโฟลว์ธุรกรรมของนักลงทุนที่ประเมินแนวโน้มเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นเร็วในระยะสั้นขณะที่โฟลว์ซื้อบอนด์ระยะยาวในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะไม่มากเท่าบอนด์ระยะสั้น แต่ก็เห็นภาพการเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง ทำให้เราประเมินว่า นักลงทุนต่างชาติ อาจรอจังหวะขายทำกำไรบอนด์ระยะยาวมากกว่า ไล่ราคาซื้อ ส่วนการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาทก็จะทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรสถานะ Short USDTHB มากขึ้น”นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารประเมินกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า (วันที่ 16-20 มกราคม 2566) ผันผวนอยู่ที่ 32.75-33.50 บาทต่อดอลลาร์โดยปัจจัยติดตามจะเป็นผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และข้อมูลยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. ของสหรัฐ รวมถึงกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย“เงินบาทนับตั้งแต่ต้นปีแข็งค่านำสกุลเงินภูมิภาคจากปัจจัยบวกเรื่องการท่องเที่ยวหลังจีนเปิดประเทศ อีกทั้งเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงต่อเนื่อง ทำให้ตลาดคาดว่าเฟดใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ กดดันค่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลก อย่างไรก็ดี ตลาดตอบรับข่าวไปค่อนข้างมาก อาจมีพักฐาน ซื้อดอลลาร์สลับกลับขึ้นมาได้บ้าง”

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : แบงก์โกยกำไรปี’65 พุ่ง 1.7 แสนล้าน-Q4 โตเฉียด 20%