ระเบียบการค้าน้ำมันโลก กำลังจะเปลี่ยนใต้เงา “จีน”

เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เครดิต สวิส ส่งรายงานเชิงวิเคราะห์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งถึงลูกค้าผู้ใช้บริการ เป็นบทวิเคราะห์ว่าด้วยระเบียบการค้าน้ำมันดิบของโลก ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเงินสกุล “ดอลลาร์” มาช้านาน

เศรษฐศาสตร์ บทวิเคราะห์ดังกล่าวระบุว่า ระเบียบการค้าน้ำมันโลกดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นช้า ๆ แต่ในที่สุด น้ำมันโลก ก็จะหลุดพ้นจากอิทธิพลของเงินดอลลาร์อย่างแน่นอน“โซลตัน พอซซาร์” นักวิเคราะห์ของเครดิต สวิส ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ระบุว่า หากการพบกันระหว่าง “แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์” ประธานาธิบดีสหรัฐ กับกษัตริย์ อับดุล อาซิซ แห่งซาอุดีอาระเบีย เมื่อ 70 ปีก่อน เพื่อทำความตกลงผูกติดการค้าน้ำมันเข้ากับเงินสกุลดอลลาร์แลกกับการรับประกันความมั่นคงในตะวันออกกลาง คือจุดกำเนิดของ “เปโตรดอลลาร์” การพบหารือกันระหว่าง “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีจีนกับผู้นำซาอุดีอาระเบียและผู้นำชาติอื่นในกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (จีซีซี) เมื่อธันวาคม 2022 ก็คือจุดกำเนิดของ “เปโตรหยวน” พอซซาร์ชี้ว่า สิ่งที่ สี จิ้นผิง ต้องการก็คือ การเขียน “กฎเกณฑ์ว่าด้วยการค้าน้ำมันของโลก” ใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดอิทธิพลของเงินดอลลาร์ ที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่ระดับหัวแถวอย่างกลุ่มประเทศ “บริค” ที่ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน กับอีกหลาย ๆ ประเทศอยากให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สหรัฐอเมริกา ใช้ระบบการปริวัตรเงินทุนสำรองสกุล “ดอลลาร์” มาเป็น “อาวุธ” เหมือนอย่างที่นำมาใช้หลังรัสเซียบุกยูเครนสี จิ้นผิง ไม่เพียงแค่อยากเห็นการซื้อขายน้ำมันดิบด้วยเงินหยวนเพิ่มมากขึ้นอีกมากเท่านั้น แต่ยังขยายอิทธิพลออกไปครอบคลุมเรื่องอื่น ๆ อีกด้วยผู้นำจีนกล่าวไว้ในการพบหารือครั้งประวัติศาสตร์ว่า นอกจากจะต้องการนำเข้า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากกลุ่มประเทศจีซีซีเพิ่มขึ้นมหาศาลในช่วง 3-5 ปีจากนี้แล้ว จีนยังต้องการ “ความร่วมมือดำเนินการด้านพลังงานในทุกมิติ” อีกด้วย พอซซาร์ระบุว่า “ความร่วมมือด้านพลังงาน” เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าอาจหมายถึงการร่วมมือกัน “สำรวจ” และ “ผลิต” น้ำมันดิบในสถานที่ที่จีนต้องการ อย่างเช่นในพื้นที่แถบทะเลจีนใต้ เป็นต้นทั้งยังเป็นไปได้ว่า จีนพร้อมจะลงทุนร่วมกับซาอุดีฯและชาติอื่น ๆ ในกลุ่มจีซีซี เพื่อพัฒนาโรงกลั่น พัฒนาโรงงานผลิตสารเคมี และพลาสติกตามมา โดยคาดหวังว่าทั้งหมดจะชำระกันในรูป “เงินหยวน” ผ่าน “ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียมเซี่ยงไฮ้” นับตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ทั้งหมดนั่นหากเกิดขึ้นจริงจะเป็นการพลิกโฉมหน้าการค้าพลังงานของโลกครั้งใหญ่ในความเห็นของพอซซาร์ เหตุผลก็เพราะน้ำมันดิบในแหล่งน้ำมันสำรองที่ยังไม่ได้สูบขึ้นมาแต่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีอยู่จริงของกลุ่มโอเปกพลัสทั้งหมดนั้น รัสเซีย, อิหร่าน และเวเนซุเอลา มีอยู่ถึง 40% อีก 40% อยู่ในมือของกลุ่มประเทศจีซีซี ส่วนอีก 20% ก็ล้วนอยู่ในพื้นที่ที่เป็น “บริวาร” ของรัสเซียหรือไม่ก็จีน

ระเบียบการค้า 3

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับผู้ที่ต้องการเทรดน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมอื่น ๆ ในรูปของเงินหยวน

เศรษฐศาสตร์ จีนจึงเสนอให้สามารถนำเงินหยวนไปแลกเปลี่ยนเป็น “ทองคำ” ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดได้ ผ่านตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำเซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงได้ด้วยในความเห็นของพอซซาร์ สิ่งเหล่านี้อาจไม่สามารถทำให้เงินสกุลหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักในทุนสำรองแทนเงินดอลลาร์ได้ก็จริง แต่ก็มีนัยในทางเศรษฐกิจและการเงินสูงยิ่งเขาเชื่อว่าที่ใดมีพลังงานมั่นคงและราคาถูก ธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลายก็จะพุ่งเข้าหา จีนก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน พอซซาร์ยกตัวอย่างกรณี BASF ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเคมีของโลก ประกาศลดขนาดโรงงานหลักของตัวเองในเมือง ลุดวิกชาเฟน ประเทศเยอรมนีอันเป็นบ้านเกิด แล้วโยกย้ายปฏิบัติการด้านเคมีทั้งหมดมายังจ้านเจียง ประเทศจีนเมื่อไม่นานมานี้เพราะปัญหาพลังงานพอซซาร์คิดว่า กรณีของ BASF อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ “เทรนด์ใหม่” ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาในทางการเงิน “เปโตรหยวน” ก็ไม่น่าจะต่างไปจาก “เปโตรดอลลาร์” คือก่อให้เกิดเม็ดเงินมหาศาลขึ้น ซึ่งในอดีตถูกประเทศ “เศรษฐีน้ำมัน” ผ่องถ่ายไปลงทุนในประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ทั้งหลายเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในประเทศเหล่านั้นหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 เรื่อยมาพอซซาร์เชื่อว่ามีแนวโน้มที่ว่ากระแสดังกล่าวกำลังไหลย้อนกลับทิศทางกับในอดีตที่ผ่านมา เพราะ “เปโตรหยวน” ไม่เพียงเป็นการสุมฟืนให้กับกองไฟ “ลดอิทธิพลของดอลลาร์” ลงเท่านั้นต่อไปในวันข้างหน้า ตัวการที่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในบรรดาชาติตะวันตก อาจไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น “จีน” ที่สามารถควบคุมแหล่งน้ำมันดิบสำรองและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไว้ในมือนั่นเอง

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เศรษฐศาสตร์ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร | วิทยากร เชียงกูล