ศึกรถไฟฟ้า2สายระอุ คดีว่อนศาลปกครอง

ศึกรถไฟฟ้า2สาย 3

มหากาพย์ 2 รถไฟฟ้า สายสีส้ม -สายสีเขียว คดีว่อนศาลปกครอง บีทีเอสเจอ ศึกรอบด้าน กทม.-เคที-รฟม. ฟ้องกันนัวเนีย “ศักดิ์สยาม” ยันรอศาลถึงที่สุด

ข่าวเศรษฐกิจ  ศึก สองรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีเขียว กลายเป็นปมยุ่งอีรุงตุงนัง ต่อสู้กันในศาลปกครอง ระหว่างเอกชนและรัฐ แม้จะเป็นคดีความที่แตกต่างกันแต่ผู้ที่รับผลกระทบกลับกลายเป็นกลุ่มเดียวกัน คือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีประเด็นแรก การประมูลสายสีส้มที่ บีทีเอสซีเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ภาครัฐในคดี รื้อเกณฑ์ทีโออาร์ และคำสั่งล้มประมูล รอบแรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ รอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด ในเร็ววันนี้ หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีเช่นเดียวกับสายสีเขียวที่มีปมใหญ่ ไม่แพ้กัน บีทีเอสซี ในฐานะผู้รับจ้างเดินรถในส่วนต่อขยาย ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดหรือเคทีซึ่งเป็นบริษัทลูกของกทม. เบี้ยวจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถ ซึ่งศาลปกครองกลาง ชี้ขาดว่า กทม.และเคทีเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องจ่ายหนี้ เป็นเงิน 10,600 ล้านบาทให้กับ บีทีเอสซี เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลบีทีเอสซีจึงยื่นฟ้องศาลปกครองเป็นคดีที่สองเพื่อให้เคทีจ่ายหนี้ค่าเดินรถ

ศึกรถไฟฟ้า2สาย 3

ขณะเคทีได้ยื่นหักล้างต่อศาลปกครอง โดยรายงานข่าวเคทีระบุว่า จากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (บอร์ดเคที) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ เป็นประธานในการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ข่าวเศรษฐกิจ  มีมติอนุมัติให้ทนายความตัวแทนของเคที เข้ายื่นคำให้การต่อศาลปกครองในคดีที่ 2 ซึ่งบีทีเอสซีเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้ ค่าเดินรถ โดยศาลปกครองจะส่งสำเนาคำให้การของเคที ไปให้ บีทีเอสซี ตามขั้นตอนแสวงหาข้อเท็จจริงเหตุผลหักล้างกันต่อไปว่าสัญญาที่ทำไม่ชอบด้วยกฎหมายส่งผลให้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอสซี ต้องออกมาชี้แจง ว่าที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเข้าทำสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าทั้งของสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และที่ 2 เฉพาะในขั้นตอนการยื่นข้อเสนอเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้รับจ้างและการเจรจาสัญญาว่าจ้างเท่านั้นนายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าว บริษัทฯ ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกฎเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับจ้างอย่างถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น การเข้าทำสัญญาจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายของบริษัทฯ จึงเป็นไปโดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งมีผลทำให้สัญญามีความชอบด้วยกฎหมายส่วนกรณีกระบวนการของภาครัฐที่ดำเนินการก่อนเกิดการทำสัญญาสายสีเขียวร่วมกันนั้น บริษัทเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่าตามปกติแล้วกทม.และเคทีจะมีคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานอัยการเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ รวมทั้งข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนและถูกต้องแล้ว จึงขอตั้งข้อสังเกตต่อความเห็นของเคทีว่า หากเคทีได้ตรวจสอบและเชื่อโดยสุจริตตามความเห็นดังกล่าว เหตุใดยังคงยอมรับและปฏิบัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายนี้

แนะนำทันข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “ชาติพัฒนากล้า” ชงรื้อโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงภาคการเงิน-พลังงานของไทย