เชื้อก่อโรคในน้ำอ้อย

เชื้อก่อโรคในน้ำอ้อย

อาหาร น้ำอ้อย เครื่องดื่มที่มีรสหวาน กลิ่นหอม หากดื่มเย็นๆแล้วทั้งชื่นใจ ทำให้ชุ่มคอ และช่วยคลายร้อนได้ ร้านรถเข็นขายน้ำอ้อยเป็นร้านที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ที่เห็นจนชินตาทั้งตามตลาดนัดแผงลอย ร้านค้าริมทางตามท้องถนน ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เกต ทว่าสิ่งหนึ่งที่มันมากับอาหาร ขอเตือนทุกท่านที่เป็นขาประจำน้ำอ้อยบรรจุขวดซื้อจากร้านค้าในตลาดย่านต่างๆว่าน้ำอ้อยนั้นอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ เช่น เชื้อ อี.โคไล เชื้อชนิดนี้ พบได้ปกติในอุจจาระของคนและสัตว์ จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำ ซึ่งหมายถึงว่าหากอาหารและน้ำมี เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนนั่นแสดงว่าไม่สะอาดและอาจไม่ปลอดภัย เพราะการที่อาหารและเครื่องดื่มมี เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนจำนวนมากๆ หรือมีเชื้อ อี.โคไล สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารดิบ อาหารปรุงสุกที่ค้างคืนไว้นาน ผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด ข่าวอาหาร  เครื่องดื่มหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ หรือผู้ผลิตไม่รักษาความสะอาดในระหว่างการผลิตเมื่อเราทานอาหารที่ปนเปื้อนเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย จะเป็นสาเหตุให้ท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษ แต่อาการจะไม่รุนแรง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ไม่มีมูกเลือด อาจมีไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ไม่อยากอาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1-2 วัน สถาบันอาหารได้เก็บตัวอย่างน้ำอ้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง จากตลาดย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน ผลปรากฏว่า พบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนในน้ำอ้อยทั้ง 5 ตัวอย่าง เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้วขอแนะว่า เลือกซื้อน้ำอ้อยจากร้านที่มั่นใจได้ถึงการรักษาความสะอาด ผู้ผลิตและผู้ขายมีการรักษาสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เช่น รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือก่อนสัมผัสวัตถุดิบ และน้ำอ้อยที่คั้นเสร็จแล้ว สถานที่ผลิตหรือบริเวณร้านที่ขายสะอาดสะอ้าน เพื่อความปลอดภัย

แนะนำข่าวอาหาร อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : ตร.จับเจ้าของร้านอาหารอินเดียและเชฟ เซ่นลูกค้าอาหารเป็นพิษจนตาย